วันอังคารที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2554

มะละกอ ต้านอนุมูลอิสระ

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.doctor.or.th/node/6412
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 360
เดือน-ปี : 04/2552
คอลัมน์ : บทความพิเศษ
นักเขียนหมอชาวบ้าน : รศ.ดร.สุธาทิพ ภมรประวัติ




มะละกอ Carica papaya L.
วงศ์ Caricaceae
ชื่อ อื่นได้แก่ มะก๊วยเทศ (เหนือ) มะกล้วยเต็ด (พายัพ) มะหุ่ง (ล้านช้าง) บักหุ่งหรือหมักหุ่ง (เลย นครพนม) สะกุยเส (แม่ฮ่องสอน) กล้วยลา (ยะลา) แตงต้น (สตูล) มะเต๊ะ (ปัตตานี) ลอกอ (ภาคใต้และมลายู) ภาษาฮินดูเรียก Papeeta

ภาษาต่างประเทศอื่นๆ เรียก Papaya, Melan Tree, Paw Paw
มะละกอ เป็นไม้ผลล้มลุก ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง เข้ามาในหมู่เกาะฟิลิปปินส์และเอเชียราวปลายศตวรรษที่ 10 ที่ฟิลิปปินส์

ผลดิบมีสีเขียว
เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึง ส้ม นิยมนำผลสดมากินสดและนำไปปรุงอาหารได้ด้วย

มะละกอมีลำต้นตรงไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นนิ่มมีสีเทา และมีร่องรอยของใบที่หลุดร่วงไป
ใบเป็นใบเดี่ยวมีแฉกลึก 5-9 แฉก ก้านใบยาว เรียงตัวแบบสลับเกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาว
ช่อดอกเพศ ผู้มีก้านดอกยาว กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแยกเป็น 5 กลีบ เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-2.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มี 10 อัน ดอกเพศเมียก้านดอกสั้นหรือไม่มีก้านดอกเลย ดอกเพศเมียและดอกสมบูรณ์เพศออกเดี่ยวหรือ 2-3 ดอก กลีบดอก 5 กลีบ ดอกมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ มะละกอบางต้นอาจมีดอกเพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกทั้งสองเพศก็ได้ ผลดิบมีเนื้อสีขาวอมเขียวมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก
ผลสุกมีเนื้อสีแดงส้ม เนื้อหนาอ่อนนุ่ม รสหวาน มีเมล็ดรูปไข่สีน้ำตาลดำผิวขรุขระมีถุงเมือกหุ้มจำนวนมาก

มะละกอเป็นไม้ผลที่คนไทยนิยมกิน ยอดอ่อนดองกินได้
ผลดิบนำมาปรุงอาหาร ใช้ปรุงส้มตำ แกงส้ม แกงเหลือง แกงอ่อม ผัดไข่ ต้มจิ้มน้ำพริก ผลสุกกินสด
น้ำมีรสชาติหวานหอม มีวิตามินเอและแคลเซียมสูง

นอก จากจะมีการกินภายในประเทศแล้วปัจจุบันยังมีการส่งมะละกอไปจำหน่ายตลาดต่าง ประเทศอีกด้วย พันธุ์ในประเทศใช้กินผลสุกที่ได้รับความนิยมคือพันธุ์แขกดำ ปัจจุบันมีการพัฒนาพันธุ์ครั่งใช้กินดิบเก็บได้นาน เนื้อกรอบ ตำส้มตำได้รสชาติดี



ผลดีต่อสุขภาพ

มะละกอ มีไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล และเกลือโซเดียมต่ำ เป็นแหล่งที่ดีของเส้นใยอาหาร ธาตุโพแทสเซียม วิตามินเอ ซี และโฟเลต แต่ร้อยละ 92 ของพลังงานจากมะละกอสุกมาจากคาร์โบไฮเดรต ผู้ที่ควบคุมอาหารแป้งและน้ำตาลจึงไม่ควรกินมะละกอมากเกินไป

สีแดงอมส้มที่พบในมะละกอสุกแสดงว่า มะละกอสุกมีสารไลโคพีนซึ่งเป็นสารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย

มะละกอ สุกอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ แคโรทีน วิตามินซี สารฟลาโวนอยด์ สารโฟเลต กรดแพนโทเทนิก ธาตุโพแทสเซียม แมกนีเซียม และเส้นใยอาหาร สารอาหารเหล่านี้บำรุงสุขภาพของระบบหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่อีก ด้วย นอกจากนี้มะละกอมีเอนไซม์ปาเปน สามารถนำมาใช้ด้านการแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บทางการกีฬา

นอกจาก นี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอินสบรุ๊ค ประเทศออสเตรีย พบว่ามะละกอมีสารต้านอนุมูลอิสระ สูงสุดเมื่อสุกงอม เนื่องจากคลอโรฟิลล์สีเขียวเปลี่ยนเป็นสารไม่มีสีที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อย่างเยี่ยมยอดอีกชนิดหนึ่ง เรียก NCCs (nonfluorescing chlorophyll catabolytes) สะสมบริเวณเปลือกผลและใต้ผิวเปลือก เวลาปอกมะละกอสุกจึงไม่ควรกรีดริ้วบริเวณใต้เปลือกเพราะจะสูญเสียคุณค่า อาหารนี้ไป

ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด
มะละกออาจช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัวและโรคหัวใจ
ที่ มีสาเหตุจากโรคเบาหวานได้ดี มะละกอมีวิตามินซี วิตามินอีและวิตามินเอ (ในรูปของสารแคโรทีนอยด์) ซึ่งเป็นสารอนุมูลอิสระที่มีความสำคัญช่วยป้องกันการเกิดอนุมูลอิสระของคอเล สเตอรอล เชื่อว่าวิตามินซีและอีช่วยการทำงานของเอนไซม์พาราออกโซเนสซึ่งหยุดการเกิด อนุมูลอิสระของคอเลสเตอรอล

เส้นใยอาหารในมะละกอช่วยลดคอเลสเตอร อลส่วนกรดโฟลิกใช้เปลี่ยนกรดอะมิโฮโมซิสเทอีนเป็นกรดอะมิโนซิสเทอีนที่ไม่มี พิษภัยอะไร ถ้ามีโฮโมซิสเทอีนอยู่มากกรดอะมิโนนี้จะทำลายผนังหลอดเลือด เกิดความเสี่ยงของอาการหัวใจวายหรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้

ช่วยระบบทางเดินอาหาร
สาร อาหารในมะละกอช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง ลำไส้ใหญ่ เส้นใยอาหารจากมะละกอสามารถจับกับสารพิษก่อมะเร็งในลำไส้ใหญ่และพาส่งออกทำ ให้เกิดการสัมผัสกับเซลล์ลำไส้ใหญ่น้อยที่สุด และสารโฟเลต บีตาแคโรทีน วิตามินซีและอี ที่พบในมะละกอ จะมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยลดการถูกทำลายของสารพันธุกรรมในเซลล์ดังกล่าวด้วยอนุมูลอิสระ

ฤทธิ์ต้านอักเสบ
มะละกอ มีเอนไซม์ปาเปนและไคโมปาเปนช่วยย่อยโปรตีน เอนไซม์เหล่านี้สามารถช่วยลดการอักเสบและกระตุ้นการสมานแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ได้ งานวิจัยจากประเทศมาเลเซียพบว่า สารสกัดจากเปลือกผลมะละกอดิบเร่งอัตราเร็วของการสมานแผลในหนูทดลองได้เร็วกว่าการใช้ยาทา Solcoseryl ถึง 1 สัปดาห์

บีตา แคโรทีน วิตามินซีและอีในมะละกอก็มีฤทธิ์ลดการอักเสบเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยโรคหอบหืด โรคข้อเสื่อม และข้ออักเสบรูมาตอยด์จะได้ประโยชน์จากการกินมะละกอเพื่อลดอาการของโรคดัง กล่าว ปัจจุบันมีการใช้เอนไซม์จากมะละกอดังกล่าวผลิตเป็นยาเม็ด ลดอาการบวม การอักเสบจากบาดแผลหรือการผ่าตัดแล้ว

ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน
ร่าง กายมนุษย์สามารถเปลี่ยนบีตาแคโรทีนที่ได้จากมะละกอสุกเป็นวิตามินเอและซีได้ เนื่องจากร่างกายต้องการวิตามินทั้งสองเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ให้ทำหน้าที่ได้ราบรื่น จึงพบว่าการกินมะละกอ เป็นประจำอาจลดความถี่การเกิดไข้หวัดและการติดเชื้อในช่องหูได้

การป้องกันภาวะจอประสาทตาเสื่อม
งาน วิจัยตีพิมพ์ในต่างประเทศกล่าวว่าการกินผลไม้ 3 ครั้งต่อวันอาจลดความเสี่ยงของอาการภาวะจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ อันเป็นสาเหตุของการเสียการมองเห็นในผู้สูงอายุ เนื่องจากคนไทยกินมะละกอ ทั้งดิบหรือสุกอยู่เป็นปกติ ดังนั้นเราจึงมีความเสี่ยงในการเกิดโรคดังกล่าวลดลงในยามชรา

ป้องกันโรคถุงลมปอดโป่งพองและมะเร็งปอด
งาน วิจัยของมหาวิทยาลัยรัฐแคนซัส สหรัฐอเมริกาพบว่า สารก่อมะเร็งจากบุหรี่ (benzo(a)pyrene) ทำให้เกิดการขาดวิตามินเอในสัตว์ทดลองที่ได้รับอาหารปกติ และเกิดอาการถุงลมปอดโป่งพอง แต่สัตว์ที่ได้รับวิตามินเอปริมาณมากแต่ได้รับสารดังกล่าวไม่พบว่ามีอาการ ถุงลมปอดโป่งพอง

ผู้วิจัยจึงเชื่อว่าผู้ที่สูบบุหรี่หรือได้รับควัน บุหรี่เป็นนิตย์ควรป้องกันตนเองโดยการกินอาหารที่มีวิตามินเอสูงเป็นประจำ และมะละกอสุกก็เป็นหนึ่งในอาหารดังกล่าว

เมล็ดมะละกอใช้รักษามะเร็ง
ที่ประเทศอินเดียกล่าวสืบทอดกันมาแต่บรรพบุรุษ ว่าเมล็ดมะละกอใช้รักษาโรคมะเร็งได้ งานวิจัยจากประเทศญี่ปุ่นรายงานเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 นี้ว่า เมล็ดมะละกอมีเอนไซม์ไมโรซิเนส และสารเบนซิลกลูโคซิโนเลตในปริมาณมาก

สาร เบนซิลกลูซิโนเลตนี้ส่วนใหญ่พบในพืชวงศ์คะน้า มีฤทธิ์ขับไล่สัตว์กินพืชในธรรมชาติ แต่มนุษย์ย่อยสารนี้โดยใช้เอนไซม์ไมโรซิเนส ได้สารต้านมะเร็ง งานวิจัยยังพบว่าสารสกัดเฮกเซนของเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสาร ซูเปอร์ออกไซด์ และมีฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งแบบอะป๊อปโทซิส จะเห็นว่าเมล็ดมะละกอมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้จริงตามภูมิปัญญาการแพทย์อินเดีย แต่ต้องใช้เวลาอีกมากกว่าจะมีการพัฒนาเป็นยาแผนปัจจุบันได้ต่อไป


จากมะละกอมาเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
มะละกอ นอก จากกินเป็นผลไม้ได้อร่อยแล้ว ยังนำไปทำเป็นน้ำมะละกอ หรือชามะละกอได้ น้ำมะละกอ สุกช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยการทำงานของลำไส้ ทำความสะอาดไต และยังเป็นยาระบายอ่อนๆอย่างดีอีกด้วย ส่วนชามะละกอดิบช่วยล้างระบบดูดซึมสารอาหาร คือ ล้างคราบไขมันที่ผนังลำไส้ซึ่งเกาะตัวที่ผนังลำไส้ ที่ขัดขวางการดูดซึมสารอาหารและวิตามินที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดด้วย

ปัจจุบันมีน้ำมะละกอหมักจำหน่ายแพร่ หลายในประเทศญี่ปุ่น ที่ทำเป็นผงบดแห้งก็มี แต่ประเทศไทยปลูกมะละกอได้ผลตลอดปีเรามาทำน้ำมะละกอสดดื่มกันเองดีกว่า

น้ำมะละกอสุก
เลือก มะละกอที่สุกกำลังดี เนื้อไม่แข็ง หรือเละจนเกินไป เนื้อเนียน รสหวาน นำมะละกอสุกหั่นเอาแต่เนื้อครึ่งถ้วย น้ำเย็นจัด 1 ถ้วย ผง อบเชย 1/8 ช้อนชา เกลือป่น 1/4 ช้อนชา น้ำมะนาว 2 ช้อนชา ปั่นมะละกอกับน้ำเย็นจัด เกลือ น้ำมะนาวเข้าด้วยกัน รินใส่แก้ว โรยด้วยผงอบเชย ดื่มเย็นๆ ทันที


ชามะละกอจากผลมะละกอดิบ
ใช้มะละกอดิบไม่อ่อนเกินไปครึ่งผล ชาเขียว หรือชาจีน หรือชาใบหม่อน อย่างใดอย่างหนึ่ง เพิ่มดอกเก๊กฮวย ใบเตย หรือรากเตยไปด้วยถ้ามี

ดอกเก๊กฮวยและใบเตยมีสรรพคุณบำรุงหัวใจ ส่วนรากเตยช่วยฟื้นฟูตับอ่อนให้มีกำลัง
ปอก เปลือกมะละกอล้างน้ำให้สะอาด แล้วหั่นแบบชิ้นฟัก นำชิ้นมะละกอใส่หม้อ เติมน้ำ 3-4 ลิตร ตั้งไฟ (ใส่ดอกเก๊กฮวย หรือใบเตย หรือรากเตยตามชอบ) เมื่อน้ำเดือดสักพักหนึ่งยกหม้อลง ตักมะละกอ และดอกเก๊กฮวยออก ให้เหลือแต่น้ำ นำน้ำดังกล่าวไปชงชา ใส่ใบชาประมาณครึ่งกำมือ หลัง 5 นาทีกรองเอากากชาออก ทิ้งไว้ให้เย็นดื่มได้ทันที หรือบรรจุขวดเก็บไว้ในตู้เย็นได้ประมาณ 3 วัน

สูตรโบราณจากประเทศ อินเดียที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันให้เคี้ยวเมล็ดจากผลสุกสิบเมล็ดพร้อมกลืน ช่วยกระตุ้นระบบน้ำดี ย่อยไขมัน ล้างระบบทางเดินอาหาร และช่วยกระตุ้นการทำงานของตับ

มะละกอเสริมความงามผิวพรรณ
เอนไซม์ ปาเปนที่พบในมะละกอ ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ทั้งด้านเภสัชกรรม โรงผลิตเบียร์ โรงงานเครื่องหนัง อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา เอนไซม์ปาเปนถูกใช้ในเครื่องสำอางได้เนื่องจากเอนไซม์ดังกล่าวสามารถย่อย สลายคอลลาเจนได้ ช่วยเร่งการผลัดเปลี่ยนเซลล์ผิว จึงใช้ทดแทนสารสังเคราะห์ แอลฟาไฮดรอกซีแอซิด (alphahydroxy acids; AHA) ได้ และมีคุณสมบัติช่วยย่อยโมเลกุลของโปรตีนด้วย

ที่ผ่านมาประเทศไทยต้องนำเข้าเอนไซม์ปาเปนจากต่างประเทศ
ปัจจุบันสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติได้สนับสนุนภาคเอกชนไทยผลิตเอนไซม์ปาเปนจากมะละกอดิบ
พัฒนาเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา ทดแทนกรดผลไม้ที่มีค่าความเป็นกรดสูง พร้อมลดการนำเข้าจากต่างประเทศปีละกว่า 60 ล้านบาท

สำหรับผู้ที่มีผิวแห้ง หรือมีปัญหาเรื่องสิวบนใบหน้า สามารถทำมาสก์มะละกอสุกใช้เอง เพื่อผิวหน้าที่อ่อนนุ่มได้ตามสูตรข้างล่างนี้ค่ะ

สูตรที่ 1
ใช้ มะละกอสุกปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นๆ สัก 2-3 ชิ้น บดขยี้ด้วยช้อนจนละเอียด แล้วนำมะละกอ ดังกล่าวบดมาทาให้ทั่วใบหน้ายกเว้นรอบดวงตาทิ้งไว้สัก 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด ใช้สัปดาห์ละครั้ง ผิวที่แห้งจะเริ่มชุ่มชื้น นุ่มนวล กระชับขึ้น เป็นสูตรโบราณจากประเทศอินเดียใช้ลบริ้วรอยได้ดี

สูตรที่ 2
เหมือน สูตรข้างบน แต่เมื่อบดเนื้อมะละกอ แล้วให้ผสมโยเกิร์ตรสธรรมชาติปริมาณพอข้นให้เข้ากัน ทิ้งส่วนผสมไว้สัก 5 นาที นำมาพอกหน้าและคอ แขน มือ ทิ้งไว้ 10-15 นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด เสร็จแล้วทาครีมบำรุงทันที ผิวจะนุ่ม และใสขึ้นเรื่อยๆ ใช้สัปดาห์ละ 1-2 ครั้งจะลบริ้วรอยได้
มะละกอ...ผลไม้ธรรมดาๆ แต่มากไปด้วยคุณค่า บรรพบุรุษคนไทยนี่ช่างฉลาดหลักแหลมจริงๆ ที่ปลูกมะละกอไว้กินกันแทบทุกบ้านเลย ประกอบอาหารได้ทั้งคาวหวาน แถมใช้บำรุงความงามได้อีก
อย่าลืมลองสูตรมาสก์พอกหน้ากันนะคะ ของดีของไทยยุคเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

วิธีต้มชามะละกอจาก www.pendulumthai.com

ไม่มีความคิดเห็น: