วันอังคารที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2554

"การสื่อสาร" เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญแนะนำทางแก้

"การสื่อสาร" เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญแนะนำทางแก้

พบข่าวน่าสนใจ จาก น.ส.พ.ข่าวสด วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2549 ปีที่ 16 ฉบับที่ 5766

หลากวิธีสื่อสาร เพื่อการพัฒนาเด็ก



"การ สื่อสาร" เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่แต่ละครอบครัวกำลังเผชิญและไร้ซึ่งหนทางที่จะพัฒนาหรือ แก้ไขให้ดีขึ้น จึงจบลงด้วยวิธีการเดิมๆ เช่น การทะเลาะวิวาท การใช้ความรุนแรง เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่เรารับรู้เรื่องการสื่อสารคือประกอบด้วย
1.ผู้ส่งสาร
2.สาร และ
3.ผู้รับสาร
แต่เรารู้หรือไม่ว่าผู้รับสารบางคน เมื่อส่งเรื่องราวไปแล้วต้องการการตอบสนองจากผู้ฟัง ที่ฟังอย่างตั้งใจ เข้าใจทั้งเนื้อหาและความรู้สึกที่ส่งไปพร้อมกับเนื้อหานั้นๆ โดยเฉพาะถ้าหากผู้ส่งสารนั้นเป็น "เด็ก"

การรับฟังและช่วยสะท้อนความ รู้สึกของผู้ส่งสาร เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะช่วยให้ผู้ส่งสารได้รับรู้ด้วยว่าขณะที่ตนเองกำลังบอกเล่าเรื่องราวไป นั้น ตนมีความคิดหรือความรู้สึกอย่างไร ยกตัวอย่างเช่น

ลูกบอกกับ แม่ว่าหนูไม่รักแม่แล้ว มีอะไรก็ให้น้องก่อนทุกที เมื่อแม่ฟังแต่ไม่ได้ใส่ใจในความรู้สึกของลูก อาจมองว่าลูกเป็นพี่ที่ไม่เสียสละ เอาแต่ใจ และบางทีอาจจบด้วยการดุลูก แต่ถ้าแม่ฟังและรับรู้ถึงความรู้สึกของลูกในขณะนั้นพร้อมสะท้อนความรู้สึก ของลูกให้ลูกรับรู้ จะช่วยให้อารมณ์โกรธของลูกขณะนั้นลดลง และอธิบายให้ลูกเข้าใจด้วยเหตุผลสั้นๆ ที่เหมาะกับวัยที่ลูกพอจะรับรู้ได้ ลูกก็จะเกิดความรู้สึกที่ดีที่แม่เข้าใจในตัวลูก

จิราภา เวคะวนิชย์ นักจิตวิทยา หน่วยจิตเวชเด็ก ศิริราชพยาบาล กล่าวถึงอิทธิพลของการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ที่มีผลต่อการพัฒนาเด็กในหลายๆ ด้านไว้อย่างน่าสนใจดังนี้

สื่อสาร...เพื่อสอนภาษา

เด็กๆ เรียนรู้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทางจากสภาพแวดล้อมที่อยู่ใกล้ตัวตั้งแต่เล็กๆ แม้ตอนเล็กๆ จะไม่สามารถพูดได้แต่สัมผัสภาษาได้ด้วยภาษาท่าทางของผู้ใหญ่ เช่น การสัมผัสโอบกอด การอุ้ม การสบตา น้ำเสียงที่ได้ยิน เป็นต้น จากนั้นก็จะพัฒนาทางด้านภาษาด้วยการจดจำและเลียนแบบ ดังนั้น การที่เด็กจะเป็นคนที่พูดจาไพเราะหรือก้าวร้าวหยาบคายก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวด ล้อมที่เด็กได้รับมาตั้งแต่เล็กๆ

สื่อสาร...เพื่อความเข้าใจ

นอก จากวัยและพัฒนาการของเด็กจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กเรียนรู้เรื่องการสื่อสาร ได้อย่างเข้าใจและลึกซึ้งแล้ว อีกปัจจัยคือผู้ส่งสาร โดยเฉพาะพ่อแม่และผู้ที่ดูแลเด็กต้องมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี ตัวอย่างเช่น ในเด็กเล็กๆ มีความเข้าใจในภาษาที่จำกัด การจะสื่อสารให้เด็กเข้าใจควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน สั้น ตรงประเด็น ใช้คำที่มีความหมายในเชิงบวก ไม่ใช่การใช้คำสั่ง การบังคับ เปรียบเทียบ กล่าวตำหนิ เพราะนอกจากเด็กจะไม่เข้าใจแล้วอาจไม่ก่อให้เกิดการปฏิบัติตาม

สื่อสาร...เพื่อสอนทัศนคติที่ดีต่อการดำรงชีวิต


ทัศนคติ เป็นมุมมองที่เรามีต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง การสอนเรื่องทัศนคติให้กับเด็กควรเป็นการปลูกฝังทัศนคติที่เป็นประโยชน์ต่อ เด็ก ทั้งมุมมองต่อเรื่องทั่วๆ ไป เรื่องธรรมชาติของชีวิต คุณธรรมต่างๆ ซึ่งมีหลากหลายวิธีการสอน เช่น การเป็นแบบอย่าง พูดหรือกระทำในสิ่งที่สอดคล้องกับทัศนคติที่สอนเด็ก ใช้การเปรียบเทียบหรือยกตัวอย่างใกล้เคียงที่เด็กคุ้นเคยและเห็นเป็นรูปธรรม หรือการใช้กิจกรรมอื่น เช่น เล่านิทาน เล่าเรื่อง เพลง มาเป็นสื่อการสอน

สื่อสาร...เพื่อสอนการคิดแก้ปัญหา

คำ พูดของพ่อแม่มีผลต่อการคิดของลูก ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกทำผิดเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถแก้ไขได้ แต่หากประโยคคำพูดของพ่อกับแม่เป็นการตำหนิ บวกกับการออกคำสั่งให้ลูกทำตาม โดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้คิดหาวิธีการแก้ไขปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ ลูกจะคิดกลัวการกระทำผิด ขาดความมั่นใจในตนเอง และไม่สามารถหาวิธีการคิดแก้ปัญหาด้วยตนเองได้ ดังนั้น การสอนให้ลูกคิดแก้ปัญหาได้พ่อแม่ควรมีทัศนคติที่ดีและยอมรับปัญหาที่เกิด ขึ้นในแง่ดีว่าเป็นการฝึกให้ลูกรู้จักคิด มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนและฝึกการตั้งคำถามเพื่อฝึกให้ลูกได้คิดและทำ

สื่อสาร...เพื่อสอนเรื่องอารมณ์ และหาทางออกที่เหมาะสม

เป็น การสื่อสารที่ให้เด็กเข้าใจเรื่องธรรมชาติของอารมณ์ที่เกิดขึ้น ให้เด็กเข้าใจในอารมณ์ตัวเองและรู้คำเรียกเกี่ยวกับอารมณ์ เช่นในเด็กเล็ก พ่อแม่ใช้การสังเกตกิริยาท่าทางที่เด็กแสดงออกในภาวะที่มีอะไรบางอย่างมากระ ทบ แล้วสะท้อนให้เด็กรู้ว่าขณะนี้ลูกอยู่ในภาวะอารมณ์อย่างไร เช่น กำลังโกรธ ตกใจ ดีใจ หงุดหงิด กลัว รวมถึงสื่อสารให้เด็กรับรู้ถึงวิธีระบายอารมณ์อย่างเหมาะสมเมื่อเด็กอยู่ใน ภาวะที่มีอารมณ์รุนแรง

แม้ปัจจัยพื้นฐาน เช่น ปัจจัยสี่จะเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต แต่ "การสื่อสารที่ดีภายในครอบครัว" ก็นับเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นับว่ามีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากที่จะช่วย เติมเต็มให้ครอบครัวมีความสุข และอยู่กันอย่างเข้าใจมากขึ้น ประการสำคัญคือยังเป็นจุดเริ่มต้นของการตัดวงจรของความรุนแรงที่เกิดขึ้นภาย ในครอบครัว โดยเฉพาะความรุนแรงที่นำมาสู่การทำร้ายเด็กทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายครอบครัวไม่อยากให้เกิดขึ้นทั้งในครอบครัวของตนเอง ชุมชนและในสังคม

สำหรับผู้สนใจปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องครอบครัวและเด็ก หรือสนใจจุลสาร "ทอฝันปันรัก" สื่อเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กและครอบครัวหรือปรึกษาพฤติกรรมเด็ก ติดต่อ มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก

โทร. 0-2412-0738 0-2412-9834 หรือ http://www.thaichildrights.org

ไม่มีความคิดเห็น: