วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2554

กลโกงหลอกจับลิขสิทธิ์ พร้อมวิธีป้องกันตัว

ข้อมูลจาก ชมรมร้านอินเตอร์เน็ตจังหวัดอุดรธานี

ยุคนี้มีการหากินกันแปลกๆเกิดขึ้นเยอะ
การละเมิดลิขสิทธิ์กำลังเป็นที่จับตาในสังคม จึงเกิดกลุ่มคนที่คิดค้นอาชีพจับผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ นั่นคือ
อาชีพจับของละเมิดลิขสิทธิ์ ครับ ใครมีญาติหรือเพื่อนโดนรงแก
หรือยังไม่โดนก็โปรดนำไปให้อ่านด้วยนะครับ การจับของแท้จากเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรง
ทำเพื่อให้คนหันมาใช้ของแท้ ไม่ใช่ทำเพื่อเรียกเงินเกินจริงจากเหยื่อ
พูดง่ายๆคือ ตัวเองไม่ได้มีสิทธิ์ในลิขสิทธิ์นั้นๆ แต่ไปสมัครเพื่อไปไถเงินคนครับ
แต่ถ้าทำตามกฎมันก็ไถเงินได้น้อยครับ คนจึงไม่เล่นตามกฎหมาย ใช้วิธีไถเงินและข่มขู่แทน
ที่จริงมันไม่ร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตครับ แต่ร้ายแรงตรงที่เป็นภัยสังคมครับ ผู้เสียหายจะโดนไถเงินรายละ 10000-50000
บาท แต่ที่ผมบอกว่าร้ายแรงเพราะว่า มีคนโดนไปทั่วประเทศแล้วครับ
จุดเริ่มต้นแก๊งไถเงินครับ
1. เริ่มด้วยการตั้งบริษัทจำกัด แล้วรวบรวมขอซื้ออำนาจดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา
จากเจ้าของลิขสิทธิ์จริงเท่าที่ทำได้ เช่น เพลง กระเป๋า น้ำหอม เกม การ์ตูน
โดยบริษัทเหล่านี้จะอ้างคุณธรรม ตั้งเพื่อปราบผู้ละเมิดลิขสิทธิ์
2. บริษัทเหล่านี้จะหาตัวแทน(ก็คือการรับพนักงานบริษัทตัวเอง)
3. ตัวแทนเหล่านี้จะหาสมาชิกแบบขายตรงเลยครับ เรียกว่าผู้รับอำนาจช่วง
4. ร่วมมือกับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองครับ แต่ก็มีโรงพักบางแห่งไม่ให้ความร่วมมือกับพวกโจร
5. เดินสายจับแบบผิดกฎหมายทีละจังหวัด ย้ายไปเรื่อย วนเวียนกลับมาทุกๆ 3-6เดือน
6. มีการทำธุรกิจนี้มาหลายปีแล้วครับ ประมาณ 7 ปี
รายได้ตัวแทนพวกนี้จะรวยมาก รายได้เกินจะคาดเดา แต่ที่พบเห็นคือสามารถออกรถป้ายแดงกันทุกคน BMW
ก็มี บางกลุ่มออกรถแวนป้ายแดงราคา 6 ล้านก็มี หัวหน้าบางคนทำจนมีเงินฝากถึง 200 ล้านบาท
เห็นมั้ยครับว่าการตั้งบริษัทถูกกฎหมาย แต่ดูเจตนาการตั้งสิครับ
เจตนาไม่ได้ทำเพื่อปราบหรือให้คนหันมาใช้ของแท้ แต่ทำเพื่อหาเงินเข้ากระเป๋าครับ
อ้างถึงการไถแต่ละเเบบมีดังนี้ครับ
อ้างถึงการไถเงินร้านซ่อมคอมพิวเตอร์
1. ไถแบบจับลิขสิทธิ์เพลงที่มีอยู่ใน โปรแกรม NICK KARAOKE
1.1 หน้าม้าจะมาตีสนิทร้านคอมพิวเตอร์ด้วยการนำคอมพิวเตอร์มาซ่อมก่อน 1 เครื่อง
1.2 อีก2-3 วันหน้าม้าจะนำเครื่องคอมมาอ้อนวอนให้ลงโปรแกรม NICK ตกลงนัดรับเครื่องกันโดยดี
1.3 วันรับเครื่อง พวกนี้จะจ้างตำรวจมา 2 คน(คนละ500) โดยตำรวจจะออกตัวว่าไม่ได้มาจับมาดูแลความสงบ
1.4 ไถเงิน 50000 บาทแล้วจะไม่เอาความผิดโดยอ้างว่าเป็นเจ้าของเพลง 2-3 เพลง ในโปรแกรม
NICK โดยตัวแทนลิขสิทธิ์พวกนี้จะไปขอลิขสิทธิ์เพลงเก่าๆ ราคาถูกๆ
1.5 หากรายไหนหัวแข็งจะพาไปโรงพัก โดยตำรวจร้อยเวรจะกล่อมให้จ่าย (มันจะเลือกแจ้งความเวลาที่100เวร ที่ร่วมแก๊งเข้าเวร)
1.6 จะโดนตำรวจขู่มากมาย เช่น ประกันเป็น 100000 หรือหากขึ้นศาลจะโดนปรับเป็น แสนๆ โม้ครับ ประกันจริง 50000
บาท ศาลไม่ปรับครับเจ้าของร้านชนะแน่นอน
วิธีแก้ไขเบื้องต้น- อย่าคุยกับพวกมันไล่พวกมันกลับไป คุณไม่ต้องไปไหนทั้งนั้น แม้แต่โรงพัก เพราะมันไม่มีหมายศาล
หมายค้น- หากพวกมันดื้อไม่กลับก็ปิดร้าน โทรตามพวกมาเย๊อะๆ- อย่ายอมจ่ายเงินให้มันเด็ดขาด ถ้าจะจ่ายก็จ่ายให้มันไป
200 บาท บอกว่าช่วยค่าน้ำมันรีบๆกลับบ้านไปเถอะ- ถ้ามันโง่มากไม่รู้กฎหมายยังดื้อแจ้งความ
ก็ไม่ต้องจ่ายอยู่ดีครับ คดีล่อซื้อแบบนี้ศาลยกฟ้องครับ คุณชนะแน่นอน-
แต่ส่วนใหญ่พวกนี้ไม่โง่ขนาดนั้น มันไม่ฟ้องศาลหรอกครับ ถ้าไม่จ่ายมันก็กลับไปเฉยๆ
ต่อให้ฟ้องไปแล้ว พวกตัวแทนไม่มาขึ้นศาลหรอกครับ คุณก็ชนะอยู่ดี
2. ไถแบบจับลิขสิทธิ์โปรแกรม WINDOWS/MICROSOFT OFFICE /PHOTOSHOP และอื่นๆ
ที่ทางร้านลงให้ลูกค้า เนื่องจากร้านซ่อมคอมซ่อมคอมให้ชาวบ้านธรรมดา โดยคิดค่าซ่อมครั้งละ 300-500
บาท จึงไม่อาจให้ชาวบ้านซื้อโปรแกรมแท้ให้กับเครื่องที่มาซ่อมได้ หากซื้อของแท้ ค่าซ่อมอาจจะสูงถึง 100000 - 200000
บาท ไม่ได้พิมพ์ผิดครับ แสน-สองแสนครับ แล้วใครจะบ้ามาซ่อมล่ะครับ พวกโจรจึง
คิดวิธีหากิน
2.1 เอาคอมมาให้ลง windows และโปรแกรมที่ลิขสิทธิ์แพงๆ โดยอ้างว่าซื้อ PC มาจากห้างแบบไม่มี
OS (อ้างโง่ๆชาวบ้านที่ไหนจะโง่ซื้อคอมจอดำๆไม่มีwindowsมาใช้)
2.2 เอาคอมเก่ามาให้ลง windows และโปรแกรมที่ลิขสิทธิ์แพงๆ
2.3 เข้าจับเหมือนเดิมเรียกเงิน 50000 บาท แบบข้อ 1 ไถแบบจับลิขสิทธิ์เพลงที่มีอยู่ใน โปรแกรม NICK KARAOKE
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- หากมีคนนำคอมใหม่ที่บอกว่าไม่มี windows มาขอให้ลง windows และโปรแกรม ก็ปฏิเสธอย่าลงให้เด็ดขาด
- ให้ทำเอกสารซ่อมไว้ และเขียนชื่อโปรแกรมที่เครื่อง PCจำเป็นต้องมี/
ให้ลูกค้าติ๊กในช่องว่าเคยมีโปรแกรมเหล่านั้น
และเขียนชัดเจนว่าทางร้านทำการซ่อมให้ใช้ได้เหมือนเดิมและส่วนโปรแกรมพิเศษต่างๆให้ลูกค้าเขียนเอง
หากมีคนนำคอมเก่ามาให้ลง ก็ให้ลูกค้ากรอกแบบฟอร์มนั้น และให้ลูกค้าเซ็นชื่อ
- อย่าคุยกับพวกมันไล่พวกมันกลับไป คุณไม่ต้องไปไหนทั้งนั้น แม้แต่โรงพัก เพราะมันไม่มีหมายศาล หมายค้น
- หากพวกมันดื้อไม่กลับ คุณก็ปิดร้าน โทรตามพวกมาเย๊อะๆ
- หากตำรวจพื้นที่นั้นโง่ไม่รู้กฎหมายว่าคดีแบบบนี้ศาลยกฟ้อง จับเจ้าของร้าน แล้วบอกให้เตรียมเงินประกัน 50000
บาท อย่ายอมจ่ายเงินเด็ดขาด
คดีแบบนี้ 99% การเข้าจับไม่มีหมายค้นครับ เพราะเมื่อขึ้นศาล ศาลก็ยกฟ้องครับ จึงไม่มีใครขอหมายศาล
อ้างถึงการไถเงินร้านเกมเพลย์
วิธีหากินมีหลายรูปแบบครับ
1. ไถแบบจับลิขสิทธิ์เกมในร้าน มีวิธีดังนี้
1.1
คน ที่จะหากินในทางนี้จะตรวจดูว่าเกมไหนที่กำลังฮิตและไม่มีลิขสิทธิ์ เมื่อพบจะทำทุกวิถีทางติดต่อกับต่างประเทศเพื่อขอเป็นตัวแทนลิขสิทธิ์
1.2 ตะเวนจับร้านเกม โดยการเข้าจับใช้ขั้นตอนที่ผิดกฎหมาย โดยจะจ้างตำรวจมา 2นาย
ตำรวจได้คนละ500บาท(แต่ตำรวจจะออกตัวว่า มาดูแลความเรียบร้อย)
1.3 เมื่อเข้าจับจะยังไม่เอาผิดตามกฎหมาย แต่จะไถเงินจำนวน 50000 บาทขึ้นไป
(ถ้าเอาผิดตามกฎหมายจะได้เงินน้อย เพราะศาลจะให้ชดใช้ตามจำนวนจริง ประมาณ 2000 บาท)
1.4 เหยื่อส่วนใหญ่จะตกใจและกลัว จะยอมจ่ายเงินให้ 5000 บาท หรือต่อรองเหลือ 40000 30000 10000
เมื่อได้เงิน พวกลิขสิทธิ์จะรีบกลับโดยเร็ว
วิธีแก้เบื้องต้น
- อย่ายอมจ่ายเงินทุกๆกรณี เพราะของแท้จะไม่เรียกเงินและของแท้จะไม่มาจับกระจอกๆแบบนี้ครับ
2. ไถแบบยัดเยียดหัวเกรียนเล่นผิดเวลา หากร้านไหนใช้เกมแท้ทั้งหมดจะเจอไม้นี้แทน
อ้างถึงการไถเงินตลาดนัดอันนี้เลวสุดๆเล่นงานคนจน วิธีการมีดังนี้1.
โจรจะเดินดูและจดรายการของที่มีลิขสิทธิ์ที่มีในตลาดนัด เช่นนาฬิกา เสื้อผ้า ตุ๊กตา กระเป๋า ผ้าเช็ดหน้า
ปลอกหมอน ผ้าเช็ดตัวที่มีลายอุลตร้าแมน โดราเอม่อน2.
เมื่อได้รายการจะไปขอเป็นตัวแทนจากบริษัทที่เป็นเจ้าของจริง แล้วก็เข้าจับแบบเดิม3. ส่วนใหญ่ 99%
จะของปลอม เข้าจับแบบข่มขู่ เรียกเงิน 50000 บาท ต่อรอง 10000 มันก็รีบเอาแล้วเผ่นหนี
วิธีแก้ไขเบื้องต้น
- โวยวายด่าแหลกแบบแม่ค้า โมโหเก็บของกลับบ้านไม่ต้องสนใจใคร
- 99% ของปลอม เล่นบทโหดใส่ รีบกลับบ้าน ไม่มีใครทำอะไรคุณได้ครับ ย้ำว่าลิขสิทธิ์ของแท้ ไม่มาจับแม้ค้าแบบนี้หรอกครับ
- หากมีลิขสิทธิ์ของจริง หากหน้าด้านมาจับ คุณก็ยอมเค้าไป เพราะคุณผิดจริง
ยอมโดนจับแล้วขึ้นศาลนะครับ อย่าจ่ายเองเด็ดขาดให้ศาลสั่งเท่านั้น คุณจะโดนปรับจริงๆไม่เกิน 2000 บาท
- ศาลจะให้จ่ายตามความเสียหายจริงครับ เช่น ปลอกหมอน 150 บาท10ผืน ของคุณทำความเสียหาย 1500
บาท ศาลก็จะสั่งปรับแค่นั้น ไม่มีในโลกครับที่ปรับ 50000 บาท
อ้างถึงทั้งหมดนี้ที่เรียกว่าของปลอมถึงแม้บางคนจะเป็นตัวแทนจริงๆ ก็เพราะ วิธีการเข้าจับของพวกมัน
ผิดกฎหมายครับ ธุรกิจนี้ผลตอบแทนมหาศาลครับ เพราะเจ้าหน้าที่ร่วมด้วย ปราบยากครับ
อันนี้คือลิ๊งค์ รายชื่อตัวแทนผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของแท้
ครับ เว็บของกรมทรัพย์สินทางปัญญาครับ ก็อบปี้ต่อกันดีๆนะครับ ไม่งั้นเข้าเว็บไม่ได้
ปล. ผมไม่ได้มาสอนให้คนโกงนะครับ
หากเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์จริง จับตามขั้นตอนกฎหมายจริง เรียกเงินตามจริงนั้น ผมสนับสนุนครับ
แต่การเรียกเงินตามศาลสั่งนั้น ของแท้จะรู้ว่าถ้าจับแบบรังแกชาวบ้านจะได้เงินน้อยอาจจะแค่ 2000
บาท ดังนั้นของแท้จะจับโรงงานปั้มแผ่น หรือโรงงานผลิตครับ ของแท้ สังเกตุง่ายๆครับ ส่วนใหญ่จะมี 2
แบบ จะไปกับตำรวจกอบปราบครับ และจะไปกับตำรวจเศรษฐกิจครับ
อ้างถึงข้อกฎหมาย ที่ต้องรู้ครับ
ล่อซื้อพ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 66 บัญญัติว่า ความผิดตามพ.ร.
บ.ลิขสิทธิ์เป็นความผิดอันยอมความได้ผลทางกฎหมายคือ เจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องร้องทุกข์ภายใน 3
เดือน นับแต่รู้ตัวผู้กระทำละเมิดและรู้ถึงการละเมิด
มิฉะนั้นจะขาดอายุความร้องทุกข์ และการแจ้งความร้องทุกข์จะต้องกระทำโดยผู้เสียหาย
หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายจะต้องเป็น
"ผู้เสียหายโดยนิตินัย"แต่หากผู้เสียหายเป็นผู้มีส่วนร่วม
หรือก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น
ก็ไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยที่มีอำนาจฟ้องคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คำพิพากษาฎีกาที่
4301/2543
การ ที่จำเลยกระทำความผิดโดยทำซ้ำบันทึกโปรแกรมคอมพิวเตอร์อันมีลิขสิทธิ์ของ โจทก์ลงในแผ่นบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่ส.
ตามที่ส.ได้ ล่อซื้อ นั้น เกิดขึ้นเนื่องจากการล่อซื้อของส.
ซึ่งได้รับการจ้างให้ล่อซื้อจากโจทก์
เท่ากับโจทก์เป็นผู้ก่อให้เกิดการกระทำความผิดขึ้น โจทก์ย่อมไม่อยู่ในฐานะผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
เพราะฉะนั้น การล่อซื้อและการส่งหน้าม้ามาลงเพลงในคอมพิวเตอร์/
การล่อเล่นในกรณีเกมส์เพลย์ จึงเป็นกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์เป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้น
ตามนัยแห่งคำพิพากษาฎีกานี้ จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจฟ้อง
อ้างถึง
ข้อย่อยที่ช่วยได้เบื้องต้น ยาวแต่ต้องอ่านนะครับ มันสำคัญทุกข้อครับ
1. จับกุมลิขสิทธิ์ได้ก่อนพระอาทิตย์ตกดินเท่านั้น ถ้ามาตอนมืด ถึงจะถูกต้องก็ไล่กลับไปได้เลย
2. หากมีคนอ้างเป็นตัวแทน ขอดูบัตรประชาชน
ดูใบรับมอบอำนาจจากเจ้าของลิขสิทธิ์
ดูบัตรของผู้รับมอบจะต้องมีบัตรของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ถ้าไม่ให้ดูไล่พวกมันกลับไปได้เลย
3. การล่อเล่นของหน้าม้า เป็นการร่วมกระทำความผิด ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์
4. ร้านคอมฯปฏิเสธไม่ให้ตรวจเครื่องคอมฯได้นะครับถ้ามันไม่มีหมายค้น ในส่วนของตัวร้าน
(สาธารณสถาน)อยากตรวจก็ให้ตรวจไป
แต่เครื่องคอมฯไม่ใช่สาธารณสถานเรามีสิทธิปฏิเสธไม่เปิดให้ตรวจสอบได้5.
ตัวแทนลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์อธิบายขั้นตอนการจับกุม
กฎหมายเขียนชัดเจนให้เป็นหน้าที่ของตำรวจชุดจับกุมให้เป็นผู้จัดทำบันทึกการจับกุม
ไม่มีกฎหมายให้อำนาจราษฎรทำเป็นข้อต่อสู้ของจำเลยข้อหนึ่งได้ว่า มันมั่วนิ่มไม่รู้กฎหมายแล้วมาจับ
6. ราษฎรก็จะช่วยตำรวจจับไม่ได้แม้ตำรวจจะขอให้ช่วยจับ
เพราะ ตำรวจจะขอให้ราษฎรช่วยจับได้ต้องเป็นผู้จัดการตามหมายจับเท่านั้น (เช่น
โจรที่มีหมายจับ)
แต่การจับละเมิดลิขสิทธิ์ในความผิดซึ่งหน้าไม่ใช่การจัดการตามหมายจับ
เราจึงมีสิทธิป้องกันการจับกุมอันมิชอบด้วยกฎหมายทั้งปวงกับราษฎรที่มาช่วยจับได้ตามสมควร
(ต่อสู้ป้องกันตามสมควร อย่าให้ถึงตายนะครับ แบบนั้นติดคุกฐานฆ่าคนตาย ควรใช้กระบองป้องกันตัว) ไม่มีความผิดทางอาญาใดๆ
7. การล่อเล่น ไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ ราษฎรก็ล่อเล่นได้
(แต่การล่อเล่นในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
ศาลจะยกฟ้อง) เหมือนข้อ 3
8. จะเป็นความผิดซึ่งหน้า ต้องดูที่ลักษณะของการกระทำ ไม่ใช่ดูที่ตัวผู้ล่อเล่นว่าเป็นตำรวจหรือไม่เป็นตำรวจ
ความผิดซึ่งหน้า หมายถึง ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ
หรือพบในอาการใด ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ
(ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80)
9. ดูที่ประมวลกฎหมายพิจารณาความอาญามาตรา 79
ราษฎรก็สามารถจับความผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
แต่ต้องเป็นความผิดบางประเภทเท่านั้น (คือความผิดที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลป.วิอาญา) เช่น ฐานฆ่าคนตาย
เป็นต้น แต่ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่ความผิดท้ายประมวลฯ ราษฎรจึงจับไม่ได้แม้เห็นความผิดเกิดขึ้นซึ่งหน้า
10. การละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเกิดซึ่งหน้าตำรวจเท่านั้นเช่นนั่งไลท์แผ่นต่อหน้าต่อตาตำรวจ
ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับกุม (และต้องมีการแจ้งความแล้ว
ถ้ายังไม่แจ้งความก็ไม่มีสิทธิ์จับในข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์) ถ้าการละเมิดเกิดต่อหน้าตัวแทนบริษัท (หน้าม้า)
แม้จะถ่ายรูปไว้ ถ้าขณะนั้นตำรวจไม่ได้เห็นด้วย (ตำรวจอยู่นอกร้าน-มาทีหลัง) ก็ไม่มีอำนาจจับกุมครับ11.
การค้นในที่รโหฐาน เช่น ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีหมายค้น ถ้าเข้าไปยึดแผ่นเโดยไม่มีหมาย
ก็เป็นการค้นที่ไม่ชอบ ทรัพย์สินที่ยึดไปไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ต้องห้ามตามกฎหมาย
เพราะฉะนั้น ถ้าขึ้นศาลก็จะไม่มีพยานหลักฐานนำสืบแสดงว่าเราทำผิด (แม้เราละเมิดจริง
แต่เมื่อไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเราทำผิด เพราะหลักฐานที่ยึด ได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบ) ศาลจะยกฟ้อง12.
หลัก ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้ (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา78 )
ข้อยกเว้น จะจับโดยไม่มีหมายจับก็ได้ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า
และเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80)
คดีละเมิดลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิ์จับ แต่ถ้าเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัว
เช่นคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ต้องมีการแจ้งความร้องทุกข์จากผู้เสียหายหรือตัวแทนเสียก่อน ตำรวจจึงจะมีอำนาจจับ
ดังนั้น ถ้ายังไม่มีการแจ้งความร้องทุกข์ อำนาจจับกุมก็ยังไม่เกิด แม้จะมีการละมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้นต่อหน้าตำรวจ ตำรวจก็จับไม่ได้
ปล. จุดไหนผิดพลาดโปรดชี้แนะด้วยครับ
อ้างถึง
การเอาผิดกลับปัจจุบันโทษรุนแรงเพียงพอแล้วครับ
เพียงแต่พวกเราไม่มีใครเอาจริงเท่านั้นเพราะถ้ามั่วนิ่มมา เราก็สามารถเอาผิดได้ หลายข้อหา เช่น
1. ฐานบุกรุก มาตรา 362 และ 364 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำและปรับ มาตรา
365 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ
2. ฐานแจ้งความเท็จ มาตรา 137 จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำและปรับ มาตรา
172 จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 174 จำคุกไม่เกินห้าปีและปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
3. ฐานเบิกความเท็จ มาตรา 177 จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นหรือทั้งจำทั้งปรับ
4. ฐานฉ้อโกง มาตรา 341 จำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ (คือโดยทุจริต
รู้อยู่ว่าตนไม่มีอำนาจจับ แต่ได้หลอกลวงว่าตนมีอำนาจเช่นว่านั้น และการหลอกลวงนี้ทำให้ได้เงินจากเราไป ก็จะผิดฐานฉ้อโกงนี้)
5. ฐานกรรโชกทรัพย์ มาตรา 337 คือถ้ามีการบังคับข่มขู่ว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้ถูกขู่เข็ญ หรือบุคคลที่สาม
จนยอมเช่นว่านั้น มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่น ถ้าการกรรโชกทำโดยขู่ว่าจะฆ่า
ขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายฯ หรือมีอาวุธติดตัวมาขู่เข็ญ
จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปีและปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท จะผิดข้อหาใด
ฐานใดต้องดูข้อเท็จจริงเป็นกรณีไป
เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะพิจารณาและหาพยานหลักฐาน ที่บอกว่าควรจะต้องตรวจสอบก่อนนั้นว่ามั่วมาหรือไม่
กรณีนี้ ตัวแทนนำจับรู้ตัวมันอยู่แต่แรกแล้วว่าตัวเองมีสิทธิหรือไม่
เป็นการกระทำโดยเจตนาชัดเจน
หน้าที่ในการตรวจสอบเป็นของตำรวจ
ก่อนรับแจ้งความต้องตรวจสอบเอกสารให้ละเอียดว่าผู้แจ้งมีอำนาจแจ้งหรือไม่ ใครเป็นผู้รับมอบอำนาจ
ใครเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องมีเอกสารชัดเจนจึงจะรับแจ้งความได้
ถ้าตำรวจบกพร่องละเลยไม่ตรวจสอบแล้วรับแจ้งความ ถ้าปรากฏภายหลังว่าการแจ้งความไม่ถูกต้อง ไม่มีสิทธิ
ไม่มีอำนาจจริง
ตำรวจจะมีความผิดทั้งทางวินัยและอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ตามมาตรา
157 เราสามารถเอาผิดได้ทั้งตัวแทนนำจับและตำรวจครับ ถ้าตัวแทนมั่วมา
แต่ถ้าเขามีสิทธิจริง เราก็ค่อยมาดูถึงวิธีการค้นและจับว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
ถ้าวิธีการค้นและจับไม่ชอบด้วยกฎหมาย เราก็สามารถเอาผิดกับพวกมันและตำรวจที่มาส่ง ได้เช่นกัน
อ้างถึง
อันนี้ มีผู้หวังดีเสริมให้ครับ ซ้ำคงไม่ว่ากัน
การล่อเล่น ไม่จำเป็นต้องเป็นตำรวจ ราษฎรก็ล่อเล่นได้
การล่อเล่นในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ถือเป็นการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด จึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย ศาลจะยกฟ้อง
การค้นในที่รโหฐาน เช่น ห้องนอน ห้องครัว ส่วนที่เป็นที่อยู่อาศัย ต้องมีหมายค้น
ถ้าเข้าไปยึดแผ่นเกมส์โดยไม่มีหมาย ก็เป็นการค้นที่ไม่ชอบ
ทรัพย์สินที่ยึดไปไม่สามารถนำมาใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ต้องห้ามตามกฎหมาย
เพราะฉะนั้น ถ้าขึ้นศาลก็จะไม่มีพยานหลักฐานนำสืบแสดงว่าเราทำผิด (แม้เราละเมิดจริง
แต่เมื่อไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเราทำผิด เพราะหลักฐานที่ยึดได้มาจากการค้นที่ไม่ชอบ) ศาลจะยกฟ้อง
หลัก ตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งศาลไม่ได้ (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 78 )
ข้อยกเว้น จะจับโดยไม่มีหมายจับก็ได้ เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า
และเหตุอื่นตามที่กฎหมายกำหนด (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80) ความผิดซึ่งหน้า
หมายถึง ความผิดซึ่งเห็นกำลังกระทำ หรือพบในอาการใด
ซึ่งแทบจะไม่มีความสงสัยเลยว่าได้กระทำผิดมาแล้วสดๆ (ดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 80)
ราษฎร(หมายถึงตัวแทนบริษัทด้วย

สามารถจับความผิดซึ่งหน้าได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ
แต่ต้องเป็นความผิดอาญาบางประเภทเท่านั้น (คือความผิดที่บัญญัติไว้ท้ายประมวลป.วิอาญา) เช่น
ฐานปล้นทรัพย์ ฐานฆ่าคนตาย เป็นต้น
แต่ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ไม่ใช่ความผิดท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ราษฎรจึงจับไม่ได้แม้เห็นความผิดเกิดขึ้นซึ่งหน้า)
อ้างถึง
ผมเคยถูกเชิญให้ไปประชุมในการรวมตัวของผู้เสียหายแล้วครับ น่าสงสารมากๆ ส่วนใหญ่มีแต่คนจนๆ ครับ
ร้องไห้กันเย๊อะครับ และส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ครับ 90% ยอมจ่ายเงินด้วยครับ เพราะเค้ากลัว
ผมจึงจะช่วยเท่าที่ช่วยได้ ด้วยการกระจายข้อมูลให้คนรู้ทันกันทั่วแผ่นดิน
หยิบมาฝากไว้เพื่อให้ทราบ

credit : http://www.ict.in.th/

ไม่มีความคิดเห็น: