วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

น.สบุญเหลือ วีรสตรีที่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จัก

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://atcloud.com/stories/85273

ศึก ใหญ่ทุ่งสัมฤทธิ์


เย็นวันนั้นทุกอย่างก็เป็นไปตามแผน พวกสาวๆ แต่งตัวสวยงามนำสำรับกับข้าว เหล้าสาโทและกับแกล้มไปยัง ที่พักของทหารลาวโดยรอบ ทหารลาวต่างก็ยินดีที่ได้รับการเลี้ยงดูพิเศษ มีสาวๆ มาปรนนิบัติพัดวี และร่วม รับประทานอาหารด้วยกันจนอิ่มหนำสำราญ ทั้งเย้าหยอก กอดจูบก็ได้ไม่ขัดข้อง ยินดีตามใจทุกประการ

ฝ่ายนางบุญเหลือแต่งตัวสวยงามให้เป็นที่ต้องตาชาย เข้าไปหาเพี้ยรามพิชัยถึงในที่พักตั้งแต่เย็น มีคนรับใช้ นำสำรับกับข้าวอันโอชะประณีตตามไปส่ง พร้อมด้วยสาโทกับแกล้มไปเลี้ยงดูปรนเปรอเพี้ยรามพิชัยด้วยมายา หญิงทุกกระบวน และอ้อนวอนว่าขออย่าทอดทิ้งเสียกลางทางเลย ขอให้นำไปเลี้ยดูเป็นศรีภริยาในเวียงจันทน์ ด้วยเถิด จนเพี้ยรามพิชัยลุ่มหลง ถึงค่ำคืนแม้นางจะชอกช้ำระกำใจ เสียดายตัวเพียงใดก็สู้ทน นางได้หมายตา ดาบของเพี้ยรามพิชัยซึ่งวางไว้ข้างที่นอนจะต้องใช้เป็นดาบสังหารให้ได้ รอแต่โอกาส

ตกดึกก็เริ่มแผน ๒ เวลา ๗ ทุ่ม พระณรงค์สงครามกับทหารมีฝีมือจำนวนหนึ่งก็ลอบออกจากกองเกวียน ลอบฆ่าทหารยามของลาวที่อยู่โดยรอบตายหมดสิ้น ริบเอาปืนไฟมาได้หลายกระบอก แล้วแจกจ่ายปืนไฟไปยัง ทหารไทยจุดต่างๆ ให้กระจายออกไป แล้วทั้งทหารและครอบครัวซึ่งแต่งกายตะเบงมานเหมือนกัน ก็คืบคลาน เข้าไปรอใกล้กองเกวียนของทหารลาวโดยรอบ รอสัญญาณ

เวลา ๘ ทุ่ม (เวลา ๐๒.๐๐ น. ของวันที่ ๗ มีนาคม) ดวงจันทร์ลับลงทิวไม้ ความมืดสลัวปกคลุมทั่วไป ก็เริ่ม แผน ๓ พระณรงค์สงครามก็ให้ยิงปืนทุกกระบอก หลายทิศทาง ทุกคนก็โห่ร้องว่า "ทหารกรุงเทพฯมาแล้ว" ดังลั่นติดต่อกันไป ทุกคนก็ช่วยกันสังหารทหารลาวด้วยอาวุธที่มีจอบเสียม มีดพร้า แหลนหลาว ตามแต่จะหาได้ ด้วยความเคียดแค้น ทหารลาวเมื่อตอนหัวค่ำมีความสุขร่าเริงจากการเลี้ยงดู ร้องรำทำเพลงสนุกสนาน บัดนี้ ถูกฆ่ามากมาย กลายเป็นสมรภูมิเลือด ที่ยังมิทันถูกฆ่าพอได้ยินเสียงโห่ร้องว่า "ทหารกรุงเทพฯมาแล้ว" ก็ขวัญหายไม่เป็นอันสู้รบ หนีไปได้บ้าง ที่ถูกฆ่าตายมากกว่าพันคน

ส่วนเพี้ยรามพิชัยนายกองทหารลาว นางสาวบุญเหลือหมายตาจะใช้ดาบที่วางไว้ข้างที่นอน แต่ไม่มีโอกาส พอดี เสียงปืนและเสียงโห่ร้องของฝ่ายไทยทำให้เพี้ยรามพิชัยไหวตัวทันคว้าดาบจาก มือนางสาวบุญเหลือไว้ได้ นางสาวบุญเหลือไม่มีทางสู้จึงวิ่งหนี ผ่านกองไฟจึงจับดุ้นฟืนกวัดแกว่งป้องกันตัว พลางถอยเข้าไปใกล้เกวียน ดินระเบิด เพี้ยรามพิชัยเห็นนางจะเกิดอันตราย จึงตัดสินใจโดดคว้าเอวของนางจะดึงกลับออกมา ทันใดนั้น นางก็พุ่งดุ้นฟืนเข้าไปในเกวียน ดินปืนไวไฟก็ระเบิดขึ้นทันที

เพี้ย รามพิชัยก็ถูกระเบิดตายพร้อมกับนางสาวบุญเหลือตรงนั้นเอง

แสงไฟจากดิจระเบิดทำให้สนามรบสว่างขึ้น ครอบครัวไทยมีความแค้นล้นหัวใจทุกคน แค้นที่ต้องเสียบ้าน เสียเมือง บ้านแตกสาแหรกขาด เสียทรัพย์สินเงินทอง และบางคนยังต้องมาเสียตัวในคราวนี้ ทุกคนจึงไม่ เสียดายชีวิตอีกแล้ว เข้าห้ำหั่นทหารลาวตายเกลื่อน หนีรอดไปได้บ้าง

รุ่งขึ้น วันพุธ ที่ ๗ มีนาคม พอสว่าง คุณหญิงโมก็ไปกอดศพหลานสาวบุญเหลือร่ำไห้ เสียดายจิตใจอันกล้าหาญ เสียสละ มานะอดทน ด้วยความรักความผูกพันที่มีต่อกันมานานเสมือนลูกหลานในอก คุณหญิงโมกอดศพหลาน สาวบุญเหลือไว้แนบอก ร่ำไห้เป็นเวลานานจึงตัดสินใจยกย่องในความเสียสละของนาง ทำให้งานกู้อิสรภาพ ครั้งนี้สำเร็จอย่างสมบูรณ์ แล้วคุณหญิงโมสั่งให้ช่วยกันเก็บศพนางสาวบุญเหลือ และคนไทยอื่นๆ ฝั่ง ทำเครื่องหมายไว้ เพื่อจะเก็บไปบำเพ็ญกุศลภายหลัง ส่วนศพทหารลาวเก็บไปทิ้งลงในหนองน้ำที่อยู่ใกล้ๆ (ได้ชื่อว่า "หนองหัวลาว" จนทุกวันนี้)




คู่หมั้นนางสาวบุญเหลือ

เมื่อจัดการบ้านเมืองพออยู่ได้แล้ว พระยาปลัดทองคำพระยาพรหม ยกกระบัตร พระณรงค์สงคราม และจางวางส่วยทองคำ จึงเข้าชื่อกันทำใบบอก เรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่เมืองนครราชสีมา มอบให้หลวงบุรินทร์ และขุนชนะไพรี เป็นนายกองม้า นำกำลังทหารม้า 30 ถือใบบอกไปวางยัง ศาลาเวรมหาดไทย เพื่อนำขึ้นกราบบังคมทูล ร.3 ให้ทรงทราบ ผู้นำชาวเมืองนครราชสีมา ปรึกษากัน เห็นว่ากองทัพเจ้าอนุวงศ์ล่าถอยไปแล้วนั้น จะไปที่ใดเราควรคิดติดตาม ได้โอกาสก็โจมตีเอาบ้าง อย่างน้อยก็เป็นการเกาะข้าศึก เพื่อคอยกองทัพจากกรุงเทพฯ ปรึกษาตกลงแล้ว จึงมอบให้ พระณรงค์สงคราม กับ หลวงพลอาสา นายด่านนครจันทึก นำกำลังทหาร 500 คน ยกไปพักแรม อยู่ที่ตำบลลำพี้ ใกล้หนองบัวลำพู คอยติดตาม ข่าวศึก (ทหารเหล่านี้เรียกจากนครจันทึก นางรอง บ้านตะคุ ด่านเกวียน ด่านกระโทก ด่านสะแกราช) กองทัพกรุงเทพฯ ออกศึก

กองทัพหลวงของไทยเคลื่อนกำลัง ไปอีก 250 เส้น ตีค่ายรักษาต้นทางที่บ้านนาด่านแตกก็ติดตามเข้าไปพบค่ายช่องเขาสาร ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่คับขัน ตรวจดูแล้วเป็นทางแคบไม่สามารถจะยกกำลังจำนวนมากเข้าไปได้ กำลังน้อยก็ไม่สามารถ เข้าตีได้จำเป็นจะต้องใช้วิธีเผา โดยจัดหน่วยกล้าตายเข้าบุกกลางคืน ขณะนั้น นายนรินทร์ภักดี ซึ่งเป็นคู่หมั้นของนางสาว บุญเหลือ และไปอยู่กรุงเทพฯ ได้เป็นนายกองเดินเท้า อาสามาใน กองทัพหลวงด้วยความเป็นห่วง เมื่อถึงนครราชสีมา แล้วก็ตื้นตันใจยิ่งนักสัญญาใจว่าจะต่อสู้ศัตรู โดยเต็มกำลังและแก้แค้นให้สุดที่รักจนได้ จึงได้ออกต่อสู้ในสนามรบทุกแห่ง เรื่อยมา บัดนี้ทราบ แผนการว่าจะต้องจู่โจมเข้าค่ายข้าศึกในเวลากลางคืน จึงขันอาสาทำงานนี้ตั้งใจว่าจะแก้แค้น ให้สำเร็จจนได้ (ตรงนี้ตามหนังสือ "ท้าวสุรนารี" ของพันตรีหลวงศรีโยธาและคณะ เขียนเล่าไว้) เมื่อแผนการเป็นที่ จึงให้ทหารบุกป่าปีนขึ้นไปทั้งสองฟากค่ายช่องเขาสาร แอบซุ่มอยู่จำนวนมาก เวลากลางคืนตกดึกก็ใช้ธนูไฟยิงเข้าไป ในค่ายลาว ทหารลาวอลหม่านดับไฟหลายแห่ง นายนรินทร์ ภักดี ได้โอกาสก็นำหน่วยกล้าตายปีนค่าย เข้าเปิดประตูค่าย ได้สำเร็จ กองทัพไทยก็เข้าตีในค่าย ทหารลาวตายมาก ที่ยอมจำนนก็มีที่หนีไปก็มี การแก้แค้นสำเร็จลงเมื่อ18 พฤษภาคม 2370 แต่นายนรินทร์ภักดีก็ต้องพลีชีวิตเพื่อชาติในที่รบนั้น






ตั้ง อยู่ในบริเวณโรงเรียนบุญเหลือวิทยานุสรณ์ ต.โคกสูง อ.เมือง
ห่างจากตัว เมือง 12.5 กิโลเมตร ตามเส้นทางสายนครราชสีมา-ชัยภูมิ


ชาวนครราชสีมาได้ ร่วมสร้างขึ้น และทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2529 เพื่อรำลึกถึงวีรกรรมของนางสาวบุญเหลือ และเหล่าบรรพบุรุษของชาวนครราชสีมา ที่ได้พลีชีพเพื่อปกป้องชาติเมื่อครั้งวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ในปี พ.ศ2369นับเป็นอนุสรณ์สถานอีกแห่งหนึ่งที่ชาวนครราชสีมาให้ความเคารพสักการะ เป็นอย่างสูง


มือก็ไกว ดาบก็แกว่ง ... ดวงวิญญาณย่าบุญเหลือยังคงอยู่คู่กับย่าโม เพื่อคอยปกป้องแผ่นดินสยาม ...
ขอทุกดวงวิญญาณโปรดน้อมรับกุศลที่ลูกหลาน ได้สวดบท มหาจักรพรรดิ์ และปรับภพภูมิให้สูงขึ้น รวมถึงดวงวิญญาณทหารลาวที่ถูกบังคับ และถูกเกณฑ์มาในครั้งกระนั้นด้วย ... สาธุ สาธุ สาธุ

ไม่มีความคิดเห็น: