วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของคำว่า ตำรวจ และ POLICE

ข้อมูลจากเว็บไซต์ http://www.nakhonsipolice.go.th/aomdata/kpolice.htm

“ตำรวจ” ตามที่ระบุไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 คือ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาความสงบ จับกุม และปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ตำรวจ ก็คือ ผู้มีหน้าที่พิทักษ์สันติราษฎร์ ตามที่ได้ยินได้ฟังกันอยู่เสมอ คำว่า “พิทักษ์” แปลว่า ดูแลคุ้มครอง พลเมืองของประเทศ ดังนั้น ตำรวจจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบอันใหญ่หลวงในการดูแลคุ้มครอง ให้เกิดความสงบสุขแก่พลเมืองของประเทศ

ประเสริฐ เมฆมณี ได้ให้ความหมายของคำว่า “ตำรวจ” ว่าคำนี้ตรงกับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “POLICE” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “WATCH MAN” โดย หมายถึง ผู้ตรวจตรา ซึ่งถือกำเนิดมาจาก “การจัดระบบตรวจตรา และคุ้มครอง” (WATCH ANDWARD SYSTEN) ของตำรวจอังกฤษ และยังมีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกับคำว่า “RATTLE WATH” หรือหน่วยตรวจตราคุ้มภัยแก่ประชาชนของตำรวจสหรัฐอเมริกาแต่เดิมด้วย

นอกจากนี้แล้ว ยังได้มีการวิเคราะห์ความหมายของตำรวจ แยกเป็นรายตัวสระ และอักษร คำว่า POLICE นี้ พระเจ้าชาร์ล ที่ 5 แห่งประเทศฝรั่งเศส ได้ทรงวิเคราะห์ศัพท์ แยกเป็นรายอักษร ดังนี้

P มาจาก Politeness หมายถึง ความสุภาพเรียบร้อย

O มาจาก Obedience หมายถึง เชื่อฟังคำสั่ง

L มาจาก Legal Knowledge หมายถึง รู้กฎหมาย

I มาจาก Investigation หมายถึง การสืบสวน สอบสวน

C มาจาก Cooperation หมายถึง ความร่วมมือ สามัคคี ในหน้าที่

E มาจาก Energy หมายถึง ความเข้มแข็ง ต่อการงานในหน้าที่

นอกจากนั้น ได้พิจารณาวิเคราะห์ความหมายของคำว่า “ตรวจ” ซึ่งต่อมาได้แปลงเป็น “ตำรวจ” ได้ดังนี้

“ต” หมายถึง ตรวจตรา จับกุม ผู้กระทำผิดตามหน้าที่
“ ำ” หมายถึง อำนวยความสะดวกให้ประชาชน

“ร” หมายถึง ระงับเหตุ รักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

“ว” หมายถึง วาจาดี มีกริยาสุภาพ

“จ” หมายถึง จรรยาดี มีศีลธรรม


หน้าที่ และความรับผิดชอบของตำรวจ

ตามประมวลระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี เล่มที่ 1 ภาคที่ 1 ลักษณะ 1 บทที่ 1 โดยกำหนดหน้าที่ทั่วไปของกรมสำนักงานไว้ดังนี้

1. รักษาความสงบเรียบร้อยทั้งภายใน และภายนอกเพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชน

2. รักษากฎหมาย ที่เกี่ยวแก่การกระทำผิดในทางอาญา

3. บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ให้แก่ประชาชน

4. ดูแลรักษาผลประโยชน์ของสาธารณะ

ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2478 กำหนดถึงอำนาจหน้าที่ของตำรวจ ไว้พอสรุปได้ดังนี้

1. ตำรวจ เป็นเจ้าพนักงาน ผู้มีหน้าที่รักษาความสงบของประชาชน

2. ตำรวจ เป็นพนักงานสอบสวน ย่อมมีอำนาจสอบสวนคดีอาญา ภายในเขตอำนาจของตนตามที่กำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงมหาดไทย

3. อำนาจการจับกุม ผู้กระทำผิดในคดีอาญา อาจเป็นทั้งในกรณีที่มีหมายค้น และไม่มีหมายจับรวมถึงการค้นตัวในที่สาธารณสถาน

4. อำนาจควบคุมตัวผู้กระทำผิด ที่ถูกจับไว้ได้ตามกำหนด เวลา ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

5. อำนาจตรวจค้นเคหสถาน ที่อยู่อาศัย และสำนักงานของบุคคล อันเป็นที่รโหฐาน ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ไม่มีความคิดเห็น: